วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 1


ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้


คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop หรือ Desktop Computer  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ งานบนโต๊ะ ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไป มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล( PC Computer  เป็นต้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีการผลิตที่เน้นให้มีความสวยงาม น่าใช้มากยิ่งขึ้น และได้รับความนิยมในการใช้งานมาก เนื่องจากราคาไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบอื่นๆ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก https://sites.google.com/site/hardwaersahrabsux/phu-cad-tha




บทที่ 2

ระบบปฏิบัติการบนระบบสื่อสารแบบพกพา 

                                            1. iOS (ไอโอเอส) หรือชื่อเดิมคือ iPhone OS (ไอโฟนโอเอส)
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดย Apple Inc. หรือในชื่อเดิมคือ Apple Computer Inc เพื่อรองรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น iPhone , iPad, iPod เป็นต้น  ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก Apple App Store
                                                            2. Android (แอนดรอยด์)
ระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาโดย Android Inc. จากนั้นบริษัท Google ได้เข้าซื้อกิจการรวมทั้งบุคลากรทั้งหมด เพื่อนำมาพัฒนาต่อ ซึ่งระบบดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Smartphone, Tablet , Notebook เป็นต้น ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงApplication Store ได้จาก Google Play Store
3. Windows Phone (วินโดว์โฟน)
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือเวอร์ชันล่าสุด (โดยก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่าWindows Mobile) ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก Windows Phone Store
                                                    4. BlackBerry OS (แบล็กเบอร์รีโอเอส)
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท RIM (Research In Motion) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารภายใต้ยี่ห้อ BlackBerry  (แต่ปัจจุบันRIM ได้เปลี่ยนชื่อเป็น BlackBerry เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อแบรนด์ของสินค้าหลัก) ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จากBlackBerry App Word
                                                        5. Symbian OS (ซิมเบียน)
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท SymbianLtd. และเป็นหนึ่งใน OS ที่บริษัท Nokia พัฒนาเพื่อนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของNokia เอง โดยมีจุดเด่นคือเป็นระบบเปิด ผู้ใช้สามารถที่จะนำโปรแกรมอื่น ๆ ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้งานรองรับ Symbian มาลงเพิ่มในเครื่องได้เอง ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก Nokia Ovi Store
ปัจจุบันบริษัท Nokia เริ่มจะลดความสำคัญในการพัฒนา Symbian OS แล้วหันมาจับมือกับ บริษัท Microsoft ในการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ Nokia ให้ใช้งานได้กับ Windows Phone OS แทน

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://kmcenter.rid.go.th/kcitc/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=481:2013-09-03-18-17-34&catid=50:2011-08-25-08-19-28&Itemid=34

บทที่ 3

การเลือกซื้ออุปกรณ์


สำหรับผู้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดสำเร็จรูปแล้ว และเลือกซื้อจากบริษัท, ห้างร้านที่เชื่อถือได้ 


ตัวอย่างชุดคอมพิวเตอร์สำเร็จ

ลำดับที่อุปกรณ์ คุณลักษณะ
1 ซีพียู AMD FX-8350
2เมนบอร์ด ASROCK 970 Extreme3
3 แรม G.SKILL SNIPER DDR3 8GB 1866 (4GBx2)
4 ฮาร์ดดิสก์ Western DigitalBlue 1TB WD500AAKX
5 เคสAERO CooL Strike X One AD USB 3.0
6 การ์ดแสดงผล GIGABYTE GTX760 OC

    สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เองตามที่ต้องการหรือเพื่อปรับปรุงอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ซีพียู เมนบอร์ด หรือ แรม อุปกรณ์เหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เราควรมีหลักในการพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละชนิด ดังนี้ซีพียู เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดและเป็นปัจจัยแรกในการพิจารณาเมื่อคิดที่จะซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีผลต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด เป็นต้น ในการเลือกซื้อซีพียูสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย เช่น บริษัทผู้ผลิต ความเร็วซีพียู แคช ความเร็วบัส เป็นต้น

เปรียบเทียบซีพียู
 Intel รุ่น Core i7 – 4770K
– Socket : LGA1150
– CPU Core : 4
– Thread : 8
– ความเร็ว CPU : 3.50 GHz
– Turbo : 3.90 GHz
– Cache : L3 8MB
ราคา : 11,700 บาท
 AMD รุ่น FX-9590
– Socket : AM3+
– CPU Core : 8
– Thread : 8
– ความเร็ว CPU : 4.7 GHz
– Turbo : 5.00 GHz
– Cache : L2/L3 8 MB
ราคา : 11,500 บาท
    เมนบอร์ด (mainboard) หรืออาจเรียกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือโมโบ(motherboard: mobo) เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยช่องติดตั้งซีพียู ไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำสายสัญญาณและบัสต่างๆขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น เมาส์ และ คีย์บอร์ด


แรม ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์เอสดีแรม(Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM) ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด และสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรให้ความสำคัญในลำดับต่อมาคือ ขนาดความจุ และความเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย
        1.)    ประเภทของแรม ต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด แรมที่ใช้พีซี เช่น DDR, DDR2และ DDR3 โดยแรมแต่ละชนิดจะมีตำแหน่งรอยบากที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถเสียบแรมบนสล็อตได้ถูกต้อง
        2.)    ความจุ ปัจจุบันแรมมีให้เลือกตั้งแต่ความจุ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟิกหรือ มัลติมิเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความจุสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับเครื่ององคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรมความจุ 4 GB ขึ้นไป
        3.)    ความเร็วของแรม ความเร็วของแรม หมายถึง จำนวนครั้งที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้ภายในหนึ่งวินาที โดยมีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่น DDR3 มีความเร็ว 1,333 MHz เป็นต้น ผู้ใช้งานต้องเลือกความเร็วของแรมให้สอดคล้องกับความเร็วของเมนบอร์ดด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าระบบบัสบนเมนบอร์ด(FSB) ทำงานด้วยความเร็ว 1,066 MHz แต่นำแรมที่มีความเร็ว 1,333 MHz มาใช้งานจะไม่สามารถทำงานที่ความเร็ว 1,333 MHz ได้

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ใน PC โดยทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 และ 1.8 นิ้วนั้นนิยมใช้ในNotebook

 การพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อ ความจุของข้อมูล และความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์มีราคาที่แตกต่างกัน ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ มีดังนี้
    1. การเชื่อมต่อ มาตรฐานการเชื่อมต่อใช้มาตราฐาน EIDE และ SATA ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดด้วย แต่ในปัจจุบันจะนิยมใช้มาตรฐาน SATA

    2. ความจุข้อมูล มีหน่วยเป็น GB และ TB ซึ่งขนาดความจุข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน

   3. ความเร็วรอบ เป็นอัตราความเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์เพื่อให้หัวอ่าน – เขียน เข้าถึงข้อมูลได้ ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงจะทำให้มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงโดยทั่วไปจะมีความเร็วอยู่ที่ 7200 รอบ/นาที (rpm)








การ์ดแสดงผล (Display card, Graphics card หรือ Video card) ทำหน้าที่แปลงข้อมูล Digital มาเป็นสัญญาณที่ส่งไปที่จอภาพ การ์ดแสดงผลอาจอยู่ในรูปแบบการ์ดหรืออาจติดตั้งมาบนเมนบอร์ดแล้ว ในการเลือกซื้อการ์ดประมวลผลจะมีปัจจัยที่ใช้ในการเลือกซื้อ ดังนี้

    1. ชิปประมวลผลการฟิก หรือจีพียู (Graphic Processing Unit : GPU) เป็นอุปกรณ์พิเศษที่เพิ่มความเร็วในการแสดงผลโดยลดภาระซีพียูในการคำนวณข้อมูลที่จะส่งไปที่จอภาพ

    2. การเชื่อมต่อ ปัจจุบันนิยมใช้ 2 แบบด้วยกันคือแบบ PCI Express และแบบ AGP ซึ่งขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดด้วย

    3. ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด หน่วยความจำบนการ์ด (Video RAM) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลภาพที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ ถ้าความจุของหน่วยความจำมาก จะทำให้แสดงภาพมัลติมีเดียความละเอียดสูงได้ดีขึ้นด้วย





เคส (Case) โดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นกล่องสีเหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดให้อุปกรณ์ภายในต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเคส หลักในการพิจารณาเลือกซื้อเคส มีดังนี้

    – มีช่องระบายอากาศและระบบระบายความร้อน

    – มีพื้นที่หรือช่องที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้ เช่น การเพิ่มฮาร์ดดิสก์ การเพิ่ม CD/DVD Drive

    – ลักษณะของเคส เช่น เคสในแนวนอน ที่เรียกว่า “Desktop Case” และเคสในแนวตั้งที่เรียกว่า “Tower Case”

จอภาพ (Monitor) ที่พบมีอยู่ 2 ประเภทคือจอแบบ CRT และจอแบบ LCD ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้จอแบบ LCD เป็นหลักเพราะมีราคาถูก ถนอมสายตา ประหยัดพลังงาน และใช้พื้นที่ในการจัดวางน้อย ปัจจัยในการเลือกซื้อจอภาพ เช่น
– ความละเอียดของภาพ (Resolution) หมายถึง จำนวนจุดหรือ Pixel บนจอภาพ ถ้าหากมีความละเอียดสูงก็จะทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น เช่น จอภาพที่มีความละเอียด 1680 x 1050 คือ จอภาพที่มีจุดภาพในแนวนอน 1680 จุด และมีจุดภาพในแนวตั้ง 1050 จุด
    – ขนาด (Size) ขนาดของจอภาพจะวัดเป็นแนวทแยงมุม


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.ku.ac.th/e-magazine/february48/it/computer.html

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 4

ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ซึ่งเราสามารถหัดประกอบด้วยตนเองได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นแรกให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ไขควงสี่แฉก กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก

2. เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้น
นำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรงกัน โดยสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของซีพียู

3. เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือน
เดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ (แกน) ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้
หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสียบ้าง

4. ติดตั้งฮีทซิงค์และพัดลมลงไปบนคอร์ของซีพียู ติดล็อกให้เรียบร้อย
ในขั้นตอนนี้มีจุดที่ต้องระวังอยู่ 2 จุดคือ การติดตั้งฮีทซิงค์ของพัดลมจะต้องแนบ
สนิทกับคอร์ของซีพียู อย่าพยายามกดแรงไป บางทีคอร์ของซีพียูอาจบิ่นได้ ส่วนขา
สปริงที่ยึดพัดลมบางทีมันแข็งเกินไป บางคนใช้ไขควงพยามยามกดขาสปริง
ให้เข้าล็อก ซึ่งอาจทำให้พลาดไปขูดเอาลายปริ้นบนเมนบอร์ดขาดทำให้เมนบอร์ด
อาจเสียหายได้

5. เสียบสายไฟของพัดลมเข้ากับขั้ว CPU FAN โดยดูจากคู่มือเมนบอร์ด

6. นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้น
จึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้นมา (บางเมนบอร์ดตัวล็อกทั้งสองด้าน
อาจไม่จำเป็นต้องดีดขึ้นมาก็ได้ให้ดูว่าเข้าล็อกกันก็พอ)

7. ขันแท่นรองน็อตเข้ากับเคส

8. นำเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึด
เมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว

9. เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส

10. เสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส

11. เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้
ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อบนเมนบอร์ด

12. สอดไดรฟ์ซีดีรอมเข้ากับช่องว่างหน้าเคส แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคส
ให้แน่น
13. เสียบสาย IDE เข้ากับไดรฟ์ซีดีรอมโดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1
หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟและสายสัญญาณเสียงเข้าไปด้วย

14. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Secondary IDE บนเมนบอร์ด
โดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย

15. สอดฮาร์ดดิสก์เข้ากับช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น

16. เสียบสาย IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์โดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือด้าน
ที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟเข้าไปด้วย

17. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Primary IDE บนเมนบอร์ด โดยแถบ
สีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย

18. สอดไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคส
ให้แน่น
19. เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์ ให้สังเกตสายไฟของ
ฟล็อบปี้ดิสก์จะมีหัวขนาดเล็กกว่าสายไฟของซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์

20. เสียบสายแพขนาด 34 เส้น (เส้นเล็กกว่าสายแพของฮาร์ดดิสก์
และซีดีรอม) ให้ด้านที่มีการไขว้สายเข้ากับขั้วต่อไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์ โดยแถบสีแดง
ของสายแพต้องตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย หากใส่ผิดด้านไฟของไดรฟ์
ฟล็อบปี้ดิสก์จะติดตลอด วิธีแก้ไขคือให้หันสายแพกลับด้านเพราะไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์
บางยี่ห้ออาจต้องใส่สลับด้านกัน

21. เสียบสายแพอีกด้านเข้ากับขั้วต่อฟล็อบปี้ดิสก์บนเมนบอร์ด โดยให้สาย
สีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือ pin1 ของขั้วต่อด้วย

22. เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอก
สถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ด
ควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์
จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้น
มาใหม่

23. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราลองสำรวจดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆ
ตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความ
เสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบ
การติดตั้งทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบ
แน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมทั้งล็อก
ติดกันอย่างแน่นหนา
24. เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคสและขันน็อตให้เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
ขั้นตอนการประกอบเครื่องอย่างถูกต้องและสมบูรณ์แบบแล้ว

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttp://www.bpic.ac.th/computer/pest13.html