วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 3

การเลือกซื้ออุปกรณ์


สำหรับผู้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดสำเร็จรูปแล้ว และเลือกซื้อจากบริษัท, ห้างร้านที่เชื่อถือได้ 


ตัวอย่างชุดคอมพิวเตอร์สำเร็จ

ลำดับที่อุปกรณ์ คุณลักษณะ
1 ซีพียู AMD FX-8350
2เมนบอร์ด ASROCK 970 Extreme3
3 แรม G.SKILL SNIPER DDR3 8GB 1866 (4GBx2)
4 ฮาร์ดดิสก์ Western DigitalBlue 1TB WD500AAKX
5 เคสAERO CooL Strike X One AD USB 3.0
6 การ์ดแสดงผล GIGABYTE GTX760 OC

    สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เองตามที่ต้องการหรือเพื่อปรับปรุงอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ซีพียู เมนบอร์ด หรือ แรม อุปกรณ์เหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เราควรมีหลักในการพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละชนิด ดังนี้ซีพียู เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดและเป็นปัจจัยแรกในการพิจารณาเมื่อคิดที่จะซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีผลต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด เป็นต้น ในการเลือกซื้อซีพียูสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย เช่น บริษัทผู้ผลิต ความเร็วซีพียู แคช ความเร็วบัส เป็นต้น

เปรียบเทียบซีพียู
 Intel รุ่น Core i7 – 4770K
– Socket : LGA1150
– CPU Core : 4
– Thread : 8
– ความเร็ว CPU : 3.50 GHz
– Turbo : 3.90 GHz
– Cache : L3 8MB
ราคา : 11,700 บาท
 AMD รุ่น FX-9590
– Socket : AM3+
– CPU Core : 8
– Thread : 8
– ความเร็ว CPU : 4.7 GHz
– Turbo : 5.00 GHz
– Cache : L2/L3 8 MB
ราคา : 11,500 บาท
    เมนบอร์ด (mainboard) หรืออาจเรียกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือโมโบ(motherboard: mobo) เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยช่องติดตั้งซีพียู ไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำสายสัญญาณและบัสต่างๆขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น เมาส์ และ คีย์บอร์ด


แรม ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์เอสดีแรม(Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM) ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด และสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรให้ความสำคัญในลำดับต่อมาคือ ขนาดความจุ และความเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย
        1.)    ประเภทของแรม ต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด แรมที่ใช้พีซี เช่น DDR, DDR2และ DDR3 โดยแรมแต่ละชนิดจะมีตำแหน่งรอยบากที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถเสียบแรมบนสล็อตได้ถูกต้อง
        2.)    ความจุ ปัจจุบันแรมมีให้เลือกตั้งแต่ความจุ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟิกหรือ มัลติมิเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความจุสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับเครื่ององคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรมความจุ 4 GB ขึ้นไป
        3.)    ความเร็วของแรม ความเร็วของแรม หมายถึง จำนวนครั้งที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้ภายในหนึ่งวินาที โดยมีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่น DDR3 มีความเร็ว 1,333 MHz เป็นต้น ผู้ใช้งานต้องเลือกความเร็วของแรมให้สอดคล้องกับความเร็วของเมนบอร์ดด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าระบบบัสบนเมนบอร์ด(FSB) ทำงานด้วยความเร็ว 1,066 MHz แต่นำแรมที่มีความเร็ว 1,333 MHz มาใช้งานจะไม่สามารถทำงานที่ความเร็ว 1,333 MHz ได้

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ใน PC โดยทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 และ 1.8 นิ้วนั้นนิยมใช้ในNotebook

 การพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อ ความจุของข้อมูล และความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์มีราคาที่แตกต่างกัน ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ มีดังนี้
    1. การเชื่อมต่อ มาตรฐานการเชื่อมต่อใช้มาตราฐาน EIDE และ SATA ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดด้วย แต่ในปัจจุบันจะนิยมใช้มาตรฐาน SATA

    2. ความจุข้อมูล มีหน่วยเป็น GB และ TB ซึ่งขนาดความจุข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน

   3. ความเร็วรอบ เป็นอัตราความเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์เพื่อให้หัวอ่าน – เขียน เข้าถึงข้อมูลได้ ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงจะทำให้มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงโดยทั่วไปจะมีความเร็วอยู่ที่ 7200 รอบ/นาที (rpm)








การ์ดแสดงผล (Display card, Graphics card หรือ Video card) ทำหน้าที่แปลงข้อมูล Digital มาเป็นสัญญาณที่ส่งไปที่จอภาพ การ์ดแสดงผลอาจอยู่ในรูปแบบการ์ดหรืออาจติดตั้งมาบนเมนบอร์ดแล้ว ในการเลือกซื้อการ์ดประมวลผลจะมีปัจจัยที่ใช้ในการเลือกซื้อ ดังนี้

    1. ชิปประมวลผลการฟิก หรือจีพียู (Graphic Processing Unit : GPU) เป็นอุปกรณ์พิเศษที่เพิ่มความเร็วในการแสดงผลโดยลดภาระซีพียูในการคำนวณข้อมูลที่จะส่งไปที่จอภาพ

    2. การเชื่อมต่อ ปัจจุบันนิยมใช้ 2 แบบด้วยกันคือแบบ PCI Express และแบบ AGP ซึ่งขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดด้วย

    3. ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด หน่วยความจำบนการ์ด (Video RAM) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลภาพที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ ถ้าความจุของหน่วยความจำมาก จะทำให้แสดงภาพมัลติมีเดียความละเอียดสูงได้ดีขึ้นด้วย





เคส (Case) โดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นกล่องสีเหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดให้อุปกรณ์ภายในต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเคส หลักในการพิจารณาเลือกซื้อเคส มีดังนี้

    – มีช่องระบายอากาศและระบบระบายความร้อน

    – มีพื้นที่หรือช่องที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้ เช่น การเพิ่มฮาร์ดดิสก์ การเพิ่ม CD/DVD Drive

    – ลักษณะของเคส เช่น เคสในแนวนอน ที่เรียกว่า “Desktop Case” และเคสในแนวตั้งที่เรียกว่า “Tower Case”

จอภาพ (Monitor) ที่พบมีอยู่ 2 ประเภทคือจอแบบ CRT และจอแบบ LCD ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้จอแบบ LCD เป็นหลักเพราะมีราคาถูก ถนอมสายตา ประหยัดพลังงาน และใช้พื้นที่ในการจัดวางน้อย ปัจจัยในการเลือกซื้อจอภาพ เช่น
– ความละเอียดของภาพ (Resolution) หมายถึง จำนวนจุดหรือ Pixel บนจอภาพ ถ้าหากมีความละเอียดสูงก็จะทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น เช่น จอภาพที่มีความละเอียด 1680 x 1050 คือ จอภาพที่มีจุดภาพในแนวนอน 1680 จุด และมีจุดภาพในแนวตั้ง 1050 จุด
    – ขนาด (Size) ขนาดของจอภาพจะวัดเป็นแนวทแยงมุม


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.ku.ac.th/e-magazine/february48/it/computer.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น